มาอ่าน ใบคะแนน ของ Figure Skating กันเถอะ ฉบับเลขน้อย (เหรอ ?) [Figure Skating 101 สำหรับคนดู ตอนที่ 2]

let's read figure skating judges score header v.2
มาอ่านใบคะแนน Judge Score ของ Figure Skating กัน !

เข้าสู่ตอนที่สองและตอนสุดท้าย (ณ ตอนนี้) ของบทความซีรีส์ Figure Skating 101 สำหรับคนดู โตไปไม่ลืม !

หลังจากที่พวกเราได้เข้าใจ สามารถแยกแยะท่ากระโดดต่างๆ ของ Figure Skating ได้คร่าวๆ แล้ว ใครยังไม่ได้อ่านตอนที่ 1 มาตำข้างล่างเร็ววว

🍉 ตอน 1 มาแยกท่า Jump ใน Figure Skating กันเถอะ

ในบทความตอนต่อมาตัวนี้จะพามาแยกส่วน ใบคะแนน Figure Skating (ภ.อังกฤษคือ Judges Score ในบางครั้งคนก็เรียก Protocol) สอนวิธีการอ่าน ใบคะแนน ขั้นพื้นฐาน ความจริงแล้วการอ่านใบคะแนนหรือความเข้าใจทางเทคนิคของฟิกเกอร์สเก็ตมีความลึกซึ้งมาก ลึกมากจนตัวเราเองก็ไม่เข้าใจหรอก โหดเกิน 5555

บทความตัวนี้จะตอบโจทย์ในระดับในระดับพื้นฐานให้เพียงพอเข้าใจศัพท์ในระดับที่แฟน ๆ พิมพ์กันทั่วไปตามเน็ตหรือฟังคนพากย์พูดแล้วไม่งง

หากหัวข้อไหนเริ่มลงลึกทางตัวเลขเป็นพิเศษ เราจะใส่อีโมจิ ❗❗ ไว้ด้านหน้า สำหรับผู้ที่ไม่อยากลงลึกสามารถอ่านคร่าวๆ ได้


คะแนนสเก็ตใน ใบคะแนน ของ Figure Skating ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

วิธีการคิดคะแนนของ Figure Skating ถูกแบ่งออกมาเป็นสองส่วนหลักนั่นคือ

  1. Technical Elements Score (TES) = คะแนนด้านเทคนิค
  2. Program Components Score (PCS) = คะแนนด้านความสวยงาม
    คะแนนสองส่วนนี้รวมกันและลบคะแนน Deduction (คะแนน Deduction เขียนเป็นตัวเลขติดลบในกระดาษอยู่แล้ว) ซึ่งเกิดจากผิดกติกาอื่น ๆ เช่นการล้ม/สเก็ตเกินเวลา ออกมาเป็นผลรวมคะแนนที่เรียกว่า Total Segment Score (TSS)
TES + PCS – Deduction = TSS
*คะแนน Deduction เขียนเป็นตัวเลขติดลบในใบกระดาษอยู่แล้ว

Figure Skating มีการแข่ง 2 รอบด้วยกันในประเภทเดี่ยว โดยวันแรกแข่ง Short Program: SP และในวันที่สอง Long Program: LP (เดี๋ยวนี้นิยมเรียก Free Skate: FS กันมากกว่า) นักกีฬาเดี่ยวต้องทำการเก็บคะแนนสะสมของทั้ง 2 รอบการแข่ง ซึ่งคนที่ทำคะแนนสะสมมากสุด 3 อันดับแรกจะได้ขึ้นโพเดียม

เข้าสู่ภาคปฏิบัติ ดูใบคะแนนจริงเพื่อเริ่มอ่านกันเลยดีกว่า รูปภาพด้านล่างนี้เป็นใบคะแนนจริงของ Rika Kihira ในการแข่ง 4 Continents FS Championship 2020 รอบ Short Program ในรายการนี้มีกรรมการทั้งหมด 8 คน (J1 – J8)

figure skating judge score protocol explained
หน้าตาใบคะแนน

ก้อนสีเหลืองเป็นการให้คะแนนตัดเกรดท่าเทคนิค (TES) ประกอบไปด้วย Jump, Spin หรือ Sequence กับก้อนสีน้ำเงินคือ PCS ตัดเกรดเรื่องความสวยงามและองค์ประกอบอื่น ๆ นอกเหนือจากท่าเทคนิค

1) Technical Elements Score (TES)

figure skating judge score protocol explained
หน้าตาคะแนนฝั่ง TES

ด้านซ้ายมือแสดงชื่อ Element ที่นักสเก็ตทำในโปรแกรมนั้น ชื่อเต็มแต่ละท่ายาวมาก เค้าเลยรวบเป็นตัวย่อ ในแต่ละท่ามีคะแนนตั้งต้น (Base Value: BV) เราสามารถดูค่า BV ของแต่ละท่าได้ในเอกสาร Scale of Value ซึ่งมีการอัพเดตตัวคะแนนอยู่เสมอ ๆ

Scale of Value (SOV) ช่วงพิสัยคะแนน
figure skating scale of value goe document
จากเอกสาร [2186 S&P Scale of Values, Levels of Difficulty and Guidelines for marking GOE 2018-19 Replacing 2168]
(คะแนนสามารถปรับเปลี่ยนได้ในภายหลัง)

ใน Scale of Value มีเรนจ์(ช่วงพิสัยคะแนน) อยู่ที่ [-5,5] (คนดูชอบแซวว่าเป็นคะแนนพิศวาสจากกรรมการเนื่องจากมาตรฐานการให้คะแนนไม่ค่อยจะสม่ำเสมอในแต่ละรายการและนักกีฬา) ซึ่งคะแนนเหล่านี้ กรรมการในรายการนั้นๆ จะเป็นคนให้คะแนนว่าในท่าที่นักสเก็ตนั้นทำควรได้คะแนนเท่าไหร่ระหว่าง [-5,5] โดยในกติกาของสมาคม ISU มีการกำชับไว้อยู่ว่าการที่กรรมการจะให้คะแนนในแต่ละจุดนั้นต้องผ่านเกณฑ์อะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น เกิดการล้ม จะโดน -5 ดังรูปด้านล่าง

figure skating goe criteria
เกณฑ์การให้คะแนน GOE
อ้างอิงจากเอกสาร [2254 S&P Levels of Difficulty and Guidelines for marking GOE 2019-20]
(เกณฑ์สามารถปรับเปลี่ยนได้ในภายหลัง)
วิธีคำนวณ GOE

หากสังเกตจะพบว่าเกณฑ์นี้ยังเป็นเกณฑ์ที่มีความ subjective พอสมควร ตัวอย่างเช่นช่อง Poor speed, height, distance, or air position ของแต่ละคนมีเกณฑ์ในใจไม่เท่ากัน poor ของกรรมการ J1 อาจจะถูกมองว่าเป็นไม่ poor สำหรับกรรมการ J2 ก็ได้

กลับมาดูที่บรรทัดท่า 3A หลังจากกรรมการทั้ง 8 ได้กดคะแนนให้แล้ว

figure skating judge score protocol explained


ตัวโปรแกรมจะทำการตัด Min กับ Max ออกไปสองตัว(ซึ่งคือ 1 และ 3 ในภาพ) ในชุดคะแนน 8 ตัวนี้ออกไป เขาว่าทำเพื่อตัดคะแนนไบแอส [ตอนนี้จะเหลือตัวเลขแค่ 6 ตัวเนอะ] จากนั้นเราเอาเลข 6 ตัวนี้มาหา Average กลายเป็น

(2+2+3+3+3+3) / 6 = 16/6= 2.67 = x̅ (Average)
ในวงการจะเรียก Average หลังจากตัด Min, Max ว่า Trimmed Mean

ซึ่งคะแนน x̅ นี้ก็คือ GOE ที่สิงสถิตอยู่ในใบคะแนน จากนั้นเราจะนำ GOE นี้ไปบวกกับ BV เพื่อให้ได้ Final Score หรือที่เขียนในช่อง Scores of Panel (GOE+BV = Score of Panel) !

figure skating judge score protocol explained


แต่เดี๋ยวก่อน ทำไมผลบวกที่เราได้ 2.67 ข้างบนมันไม่ได้เท่ากับในรูปล่ะ (2.13) เลขในกระดาษมันน้อยกว่าที่คำนวณไว้อีก ? เพราะสูตรเลขนี้เลิกใช้แล้วหลังโอลิมปิก 2018

🍉 ในปี 2018 ยังใช้ GOE ระบบเก่าซึ่งพิสัยคะแนนยังอยู่แค่ที่ [-3,3] ดูคำอธิบายการคิดคะแนนแบบเก่าได้ในเว็บนี้ (คลิก)

สิ่งที่เกิดขึ้นในระบบ GOE ใหม่แทนที่จากเดิมที่ได้ 2.67 แล้วบวกกลับ BV ไปเลยนั้น
ในระบบใหม่ ตัวเลข 2.67 เป็นการบอกช่วงพิสัยในตารางเฉยๆ โดยเราต้องเอาเลข 2.67 นี้ไปเทียบกับตาราง Scale of Value ก่อนเพื่อคำนวณหาเลขสุทธิ GOE สุดท้ายอีกที

วิธีการดังนี้

วิธีคำนวณหา GOE วิธีใหม่หลังโอลิมปิก 2018

(1) หา Trimmed Mean (x̅) ได้ 2.67
(2) ตามตาราง SOV ที่วงไว้สีเหลืองๆ ท่า 3A หาก x̅=2 จะได้ GOE=1.6 (20% จาก BV: 8), ถ้า x̅=3 จะได้ GOE=2.4 (30% จาก BV: 8), ถ้า x̅=5 จะได้ GOE=4.0 (50% จาก BV:8) ในกรณีนี้ได้ x̅=2.67 คะแนน GOE สุดท้ายที่ออกมาจึงควรตกอยู่ระหว่าง [1.6 ~ 2.4]
(3) ทำการหาบัญญัติไตรยางค์ ถ้า 2 คือ 1.6 แล้ว 2.67 คืออะไร (กลาง x ตัวล่าง) / ตัวบน จึงได้ (1.6 x 2.67)/2 = 2.13 ดังภาพด้านล่าง
(4) นำ BV+GOE = 8+2.13 เพื่อให้ได้ Scores of Panel: 10.13 ตามใบคะแนน (ไหนบอกบล็อกนี้เลขน้อยไง !)

ได้ 10.13 ตามใบคะแนนข้างบนแว้ว !



ข้อสังเกต GOE อื่นๆ (เลขเยอะ)
❗❗ 1. Trimmed Mean ที่ไม่ได้ตัด Min,Max เสมอไป

เราพบว่าไม่ใช่ทุกรายการเสมอครั้งไปที่จะตัด Min,Max ก่อนทำการ Average เช่นในรายการ Shanghai Trophy 2023 (แข่งช่วงต.ค. 2023) ที่นำคะแนนจากกรรมการทั้ง 5 คนมาหา Average แล้วไปเทียบในตาราง SOV ทันทีเลย (ในตัวอย่างข้างล่างนี้ เราใช้สูตรบัญญัติไตรยางค์โดยหาร 5 แทนซึ่งต่างจากตัวอย่างข้างบนที่เราเอาไปหาร 2)

ในขณะเดียวกันรายการที่แข่งสองเดือนก่อนหน้าอย่าง Asian Open Figure 2023 (แข่ง ส.ค. 2023) มีการตัด Min, Max ออกก่อนนำมาคำนวณ

ดังนั้นในกรณีที่รายการมีกรรมการ 5 คนนี้จึงอาจต้องดูเป็นเคสๆ หรืออาจมีปัจจัยของรายการ/ฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าคำนวณ GOE แล้วได้ไม่ตรงกับในใบคะแนนก็ลองไม่ตัด Min, Max ดูก็อาจจะได้คำตอบที่ตรงก็ได้ แต่รายการใหญ่ๆ ที่มีกรรมการ 7-9 คนนั้นมีการตัด Min, Max แหละ

❗❗ 2. พิสัยคะแนนของท่า ChSq1

จากที่เห็นรูปด้านบน คะแนนพิสัยของท่าทั่วไป (ตัวอย่างในรูปคือ StSqB) จะใช้วิธีการตัดเกรดโดยขยับ -50%,-40%,…10%,20%,..50% จาก BV ขึ้นมาเรื่อยๆ (ช่องขวาสุดของ StSqB คือ 0.75 ซึ่งมาจาก 50% ของ BV: 1.5)

ยกเว้นท่า ChSq1 (Choreographic Step Sequence ตามไฮไลท์สีเขียวในรูป) ที่ไม่ได้เป็นไปตามสูตรนั้น ตัวเลขช่องขวาสุดไม่ได้มาจาก +50% แต่เป็นตัวเลขค่าคงที่ นั่นคือ BV: 3 โดนบวกทีละ 0.5 ขึ้นมาเรื่อยๆ ในแต่ละช่องจนมาสิ้นสุดที่ช่องขวาสุดคือ 2.5 ดังนั้นหากใครจะคำนวณคะแนน GOE ด้วยมือสำหรับท่า ChSq1 ก็ต้องแทนเลขเข้าไปในสมการให้ถูกต้องด้วย (ให้ชัวร์สุดก็ดูตาราง SOV ประกอบการคำนวณด้วยจะดีกว่า)

3. GOE ของท่า Combo Jump คิดอย่างไร?

ด้วยความสงสัย เราก็อยากรู้ว่าพวกท่าคอมโบที่กระโดดสองจัมพ์ในหนึ่งครั้งจะคำนวณ GOE ยังไง จากในตัวอย่างข้างบนนี้ 3Lz+3T (BV คือ 5.9 และ 4.2 ตามลำดับ) ใบคะแนนเขียนรวมกันได้ 10.10 ทว่าพอเอา 10.10 ไปคิดบัญญัติไตรยางค์แล้วมันสูงไปมาก ได้คำตอบ 2.45 ไม่ใช่ 1.43 แบบในใบคะแนนแฮะ มันยังไงล่ะเนี่ยย 5555 ต่อมาพบว่าในกรณีท่าคอมโบ เค้าจะคำนวณโดยใช้ BV จากท่าที่คะแนนมากสุดในคอมโบนั้น ตัวอย่างนี้คือ 3Lz (เอา 5.9 มาคำนวณพอ) จึงทำให้ GOE ออกมาเป็น 1.43 ตามรูปด้านบน แล้ว BV 10.10 ค่อยนำมาบวกกับ 1.43 จนได้คะแนนรวมสุดท้ายเป็น 11.53

ถ้าสมมุติกระโดด 2F+3T ล่ะ ท่ายากอยู่ข้างหลัง จะคิดยังไง? (BV 1.8 และ 4.2 ตามลำดับ) ก็จะคำนวณ GOE โดยใช้ 3T ซึ่งเป็นท่าคะแนนสงกว่าดังรูปด้านล่างนั่นเอง



2) Program Components Score (PCS)

เป็นการให้คะแนนด้านความสวยงาม เกณฑ์การให้คะแนนเช่น Skating Skill, Musical Interpretation, Composition

ความหมายต่างๆ ขององค์ประกอบ PCS
อ้างอิงจากเอกสาร 31265-isu-communication-2562

ซึ่งวิธีการคิด PCS ค่อนข้างตรงไปตรงมา ง่ายกว่าฝั่ง TES เพราะเป็นการคิด Average ตรงๆ นั่นเอง (ตัด Min, Max ออกไปก่อนสองตัวเช่นเดิม) ตัวอย่าง

(8.75+8.5+8.75+8.5+8.5+8.75) / 6 = 8.63 = x̅ (Trimmed Mean)

หลังจากคิด TES และ PCS เราจะนำมาหักกับ Deduction ออกมาเป็นคะแนนสุดท้าย TSS ดังรูปนั่นเอง

จากรูปน้อง Rika ทำ TES ได้ 46.16 และ PCS 35.02
figure skating judge score protocol explained
เข้าสูตร 46.16 + 35.02 – 0 (ไม่ล้มเลย) = 81.18

👑 และนี่จึงทำให้โปรแกรมนี้ Rika Kihira ทำคะแนนใน SP ไป 81.18 👑

ตัวอย่าง ใบคะแนน ของคนที่ถูกหัก Deduction

ในกรณีคนที่โดน Deduction ก็จะถูกลบไปตามภาพข้างล่างนี้

figure skating judge score protocol explained
25.42 + 26.35 -1 = 50.77

เครื่องหมาย q, *, x บนใบคะแนนนี่มันแปลว่าอะไร ?

figure skating judge score protocol explained
เครื่องหมาย < * x คืออะไรกันนะ ?

เพิ่มเติมในเครื่องหมายบน ใบคะแนน Figure Skating บางส่วน
Downgraded (<<), Underrotated (<), Landed on the quarter (q) เป็นการระบุว่านักสเก็ตกระโดดท่านั้นได้ไม่สมบูรณ์ ระดับความสาหัสร้ายแรงที่จะถูกหัก GOE มากสุดคือเรียงจาก [<<] → [<] → [q] ตามลำดับ

หนึ่งรอบการหมุน (Revolution)

ในหนึ่งรอบกระโดดหมุนคือ 360° ซึ่งรอบการหมุนนี้ใช้คำศัพท์ว่า Revolution เช่นกลุ่ม Triple Jump มี 3 Revolutions, 3A มี 3.5 Revolutions ครึ่งรอบการหมุนในที่นี้จึงเป็น Half Revolution | 0.5 Revolution | 180° จากทั้งหมด 360° แล้วแต่ความถนัดของผู้อ่านว่าอยากจะเข้าใจเป็นหน่วยองศา, ตัวเลข หรือคำศัพท์ Revolution

  1. Downgraded (<<: Missing rotation of half a revolution or more) หักคะแนนรุนแรงสุด กระโดดหมุนไม่ถึง 180°
  2. Underrotated (<: Missing rotation of more than a quarter revolution but less than half a revolution) หักคะแนนรองลงมาจากข้อบน โดยกระโดดลงพื้นอยู่ในองศา 180° – 270°
  3. Landed on the quarter (q) กระโดดไม่ครบรอบหมุน ลงพื้นในองศา 270° พอดี
  4. Less than a quarter missing กระโดดไม่ครบรอบหมุน ลงพื้นในองศา 270° – 360° จะไม่มีเครื่องหมายมาร์คบนใบคะแนนแต่ไปโดนหักลบใน GOE เล็กน้อยแทน (กรรมการนี่ก็ตาไวเกิ้น)

ด้านบนนี้เป็นการอธิบายข้อมูลคร่าว ๆ ซึ่งในแต่ละเครื่องหมายจะมีเกณฑ์การให้คะแนนและการหักลบ GOE ปลีกย่อยเพิ่มเติม หากอยากทราบนิยามภาษาอังกฤษละเอียด ๆ สามารถอ่านได้ในลิงค์เอกสาร(หน้า 3) ทั้งนี้สำหรับคนดูทั่วไป ถ้าพบสัญลักษณ์เหล่านี้ในใบคะแนนให้เข้าใจว่านักกีฬาถูกหักคะแนนจากการกระโดดหมุนไม่ครบรอบก็น่าจะเพียงพอแล้ว

[x] Credit for highlight distribution คือคะแนนโบนัสเนื่องจากนักสเก็ตนำท่าเหล่านี้กระโดดในครึ่งหลังโปรแกรม (บ้านๆ ก็คือคะแนนความอึด เพราะพวกเค้ายังมีพละกำลังเหลือจะเก็บเอามากระโดดครึ่งหลังอ่านะ) โดนโบนัสจะเพิ่ม x1.1ตัวอย่างเช่น ท่า 3S มี BV = 4.3 หากเล่นท่านี้ในครึ่งหลัง BV จะเปลี่ยนเป็น 4.73 (4.3 x1.1) แทน

คะแนน 3S ที่ถูกเพิ่มโบนัสเมื่อสเกตในครึ่งหลัง

[*] Invalid Element คือท่าที่ปฏิบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของหนังสือกติกา (Rulebook) เช่นการกระโดดต้องมีอย่างน้อย 2 รอบ ในที่นี้ทำ 1Lp จึงโดนข้อหา Invalid Element

isu judge score legend
ความหมายตัวย่อๆ ต่างๆ บนใบคะแนน


หาดู ใบคะแนน Judge Score ของ Figure Skating ได้ที่ไหน ?

ปกติเวลามีการแข่งขันสด ISU จะทำการอัพเดตคะแนนทั้งลำดับคนสเก็ต คะแนนที่ได้และแนบเอกสาร Judge Score มาด้วยในเว็บไซต์ http://www.isuresults.com/ (ที่ใช้ User Interface ได้ชวนนึกถึงวันวานเว็บไซต์สมัย Y2K มากมาย 😑) ถ้าเข้าไป บ่อยครั้งอาจพบว่ามันไม่มีหน้า Homepage มันเป็นหน้าว่าง ๆ บางทีต้องเซิร์ชชื่ออีเวนท์แล้วตามด้วย isuresults เช่น “world trophy 2021 isuresults” เพื่อให้มันขึ้นลิงค์ที่เราอยากเข้าไปดูแทน (เอ๊า! 5555)

isu judge score protocol live score in isuresults google
เข้าจากโฮมเพจ เป็นหน้าว่าง เข้าผ่าน Google ก็ดะ

เวลาค้นหา ผลลัพธ์ Google จะขึ้นมาสองเว็บใกล้เคียงด้วยกัน ได้แก่

https://results.isu.org กับ http://isuresults.com ให้เราเข้าเว็บตัวหลังเด้อ

มีสองเว็บที่คล้าย ๆ กันแต่ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน !
isu judge score protocol live score in isuresults
หน้าตาโฮมเพจของอีเวนท์บน isuresults.com
isu judge score protocol live score in isuresults
มีใบคะแนน PDF แนบไว้บนเว็บไซต์

ไม่ใช่ทุกรายการจะแสดงผลคะแนนสดผ่านทาง isuresults เช่น

รายการ Asian Open Figure 2023 โฮสบนเว็บ FSAT, Finlandia Trophy 2023 โฮสบนเว็บ figureskatingresults

ก็คลำๆ หากันไปตามแต่โอกาส (ซึ่งก็ใช้หน้าตาตารางคะแนนสีสายรุ้งและ Template บนเว็บไซต์แบบเดียวกันอ่านะ ฮาาา)


จบกันไปแล้วกับวิธีอ่านใบคะแนน Figure Skating หลังจากที่ครบ 2 ตอนนี้แล้ว คุณผู้อ่านทั้งหลายน่าจะได้พื้นฐานที่พอเอาไปดูสเก็ตแล้วไม่งงกันและยังเอาไปต่อยอดกันเพิ่มเติมได้แล้วล่ะนะ ยินดีด้วยคุณผ่านการอบรมคอร์ส Figure Skating 101 สำหรับคนดูแบ้วววว !!!! ใครตามอ่านกันมาถึงท้ายสุดนี้ก็ขอขอบคุณ ส่วนใครอยากจะแวะเวียนมาทักทาย ตามมาคุยกันได้ใน About Me นะฮ้าบบบ อนาคตจะมีภาคต่อจนเป็นไตรภาคมั้ยต้องมาดูกันอีกที


🖊 Author: GleeGM
🔎 Peer Review: Riko Rikarin
Update Version: 24 Oct 2023


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ประสบการณ์ไปดูงานแข่งไอซ์สเกต ISU Junior Grand Prix Bangkok 2023 รายการสเกตซีรีส์กรังปรีซ์ครั้งแรกในไทย 🇹🇭

Medalist ทอฝันบนลานสเกต มังงะฟิกเกอร์สเกตเรื่องล่าสุดแห่งปี 2020 รอคอยเซตติ้งแบบนี้มานานแล้ว !

🎬 ฉันที่เกือบอายุ 30 ในที่สุดก็เจอ “หนังในดวงใจ” กับ Ice Castles (1978) สักที

🛒 สั่งของ NBA Store บอกเล่าประสบการณ์แบบสั่งเองไม่ผ่านร้านหิ้วโดนไปกี่บาท?

🏀 บล็อกหัวข้อกีฬา คลิก | 📖 รีวิวBook หนังสือ |🎧 รีวิว Music ดนตรี | 📺 รีวิว Anime อนิเมะ | 🪝 รวมมิตรรีวิวทุกประเภท All Reviews


References:

http://www.isuresults.com/results/season1920/fc2020/
https://www.isu.org/figure-skating/rules/fsk-communications
https://isu.org/inside-isu/isu-communications/communications/17795-2186-s-p-scale-of-values-levels-of-difficulty-and-guidelines-for-marking-goe-2018-19-replacing-2168/file
https://www.isu.org/isu-statutes-constitution-regulations-technical-rules-2/isu-judging-system
https://www.reddit.com/r/FigureSkating/comments/81ifdd/invalid_elements_at_olympics/
https://www.sporttaco.com/rec.sport.skating.ice.figure/GOE_Credit_hor_highlight_distribution_3955.html
https://www.isu.org/inside-isu/isu-communications/communications/28330-isu-communication-2474/file

Loading

GleeGM

My journal on personal life and interests including Data Analytics 📈, Books 📚, Music 🎶, Basketball 🏀, Figure Skating ⛸, Anime, Film 📺, Tarot, Lenormand, Uranian Astrology🔮

You may also like...