Ergo Proxy รีวิว อนิเมะไซไฟ ยัยสโมคกี้อายกับนายจืดชืดในโลกดิสโทเปีย + อธิบายตอนจบ

ergo proxy re-L mayer
Screenshot จาก Ergo Proxy ในตอนที่ 1

ยังอยู่ในหมวดอนิเมะไซไฟกับ อนิเมะ Ergo Proxy ชื่อหัวบล็อกเกรียนมากกกก อยากจะเรฟกับชื่อหนัง My Sassy Girl ยัยตัวร้ายกับนายเจี๋ยมเจี้ยม เห็นว่ามันเข้ากับเรื่องนี้พอดีที่นางเอกมีคาแรคเตอร์ทาขอบตาสีฟ้า (เบ้าหน้าเธอนึกว่าหลุดมาจากนักร้องวง Evanescence) และพระเอกเรามีเบ้าหน้าจืดจางแสนเจี๊ยมเจี๋ยม โดยเนื้อเรื่องจริง ๆ นี้ไม่ได้หวานชื่นไรเหมือนชื่อบล็อกเลยจ้า 55555

สำหรับเราตอนนี้ยังเป็นช่วงเก็บกวาดอนิเมะสายไซไฟสายเข้มข้นเช่นเคย จากที่คราวก่อนดู The Big O ไป (เคยทำรีวิว The Big O ไว้ อ่านที่นี่) หรอบนี้ได้ฤกษ์ หวยมาตก Ergo Proxy อนิเมะแนวไซไฟที่คนดูต่างเชิดชูว่ามันเป็นอนิเมะดิสโทเปียน้ำดี มีทั้งหมด 23 ตอนจบ ผลิตโดยสตูดิโอ Manglobe ที่ผลงานเรื่องสุดท้ายของการผลิตคือ GANGSTA ก่อนประกาศล้มละลายบริษัทไป โดยเซตติ้งของเรื่องหรือการออกแบบตัวละครมีกลิ่นอายตะวันตก อาจเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้คนดูฝรั่งชื่นชอบเป็นพิเศษก็เป็นได้ ไม่อารัมภบทกันไปนานกว่านี้ เริ่มกันเลยดีกว่า

เนื้อเรื่องย่อ

mosk ergo proxy
เมืองที่มีโดมครอบคลุม โครงสร้างของเมืองทั่วไปในโลกปัจจุบัน

ในเมือง Romdeau (รอมโด) เมืองที่มีลักษณะโดมแก้วครอบไว้ มนุษย์ใช้ชีวิตร่วมกับหุ่นยนต์รับใช้ AutoReivs (ออโต้เรฟ) อย่างปกติสุข นางเอกของเรา Re-L Mayer (รีเอล เมเยอร์) เด็กเส้นใหญ่ ลูกสาวนายกประจำเมือง เธอทำหน้าที่คล้าย ๆ ตำรวจสืบสวน คอยตรวจตรา สืบคดี ดูแลความปลอดภัยในเมือง ในขณะนั้นมีไวรัสแพร่ระบาดในกลุ่มออโต้เรฟชื่อ Cogito Virus (คอกิโต้ไวรัส) หากหุ่นยนต์ตัวไหนโดนไวรัสจะทำให้หุ่นยนต์ตัวนี้ไม่เชื่อฟังคำสั่งบ้าง มีความคิดเป็นของตัวเองบ้าง ก้าวร้าว ทำตามใจตนเอง ไล่ทำร้ายคนไปทั่ว หรืออาจจะกลายเป็นร่างหุ่นพนมมือสวดมนต์ไปเลย ระหว่างที่นางเอกกำลังว้าวุ่นอยู่กับเคสโรคระบาดในหุ่นยนต์ จู่ ๆ เธอได้ไปพานพบกับสิ่งมีชีวิตแสนแปลกประหลาดที่ถูกขนานนามว่า Proxy (พร็อกซี่) ซึ่งสิ่งมีชีวิตสิ่งนั้นดันมาพัวพันกับผู้อพยพผู้หนีตายสด ๆ ใหม่ ๆ ชื่อ Vincent Law (วินเซนต์ ลอว์) จากเมือง Mosk (มอสก์) ที่เพิ่งถูกทำลายไป การพานพบผู้มาเยือนใหม่นี้จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเธอไปตลอดกาล

cogito virus ergo proxy
สภาพของหุ่นยนต์ที่ติดเชื้อ Cogito Virus


ความรู้สึกหลังดูจบ

อนิเมะทั้งหมด 23 ตอนแต่มันมีปัญหาเดียวกันกับ The Big O เลยนั่นคือช่วงประมาณ 70% แรก เรื่องเดินได้อย่างทรง ๆ นิ่ง ๆ อธิบายทีละส่วนทีละมิติตัวละครอย่างย่อยง่ายเข้าใจง่าย แต่เมื่อเข้าช่วงประมาณ 5 ตอนสุดท้าย ทุกอย่างแทบจะเฉลยมาให้หมดราวกับเพิ่งนึกได้ว่าโควต้าตอนกำลังจะหมดแล้ว เหมือนคนดูที่จากเดิมค่อย ๆ เคี้ยวข้าว จู่ ๆ โดนจับยัดข้าวให้กลืนไปให้ก่อนหมดเวลาพักแล้วก็ไปท้องอืดทีหลังเนี่ยแหละ มาเล่นเล่ายัดท้ายเรื่องแบบนี้ คนดูปรับตัวกันไม่ทัน พอดูจบมันเลยทำให้คนดูต้องมานั่งเรียบเรียงสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ทำความเข้าใจถึงความพูดของตัวละครใหม่ ซึ่งความจริงมันสามารถทำให้คนดู ค่อย ๆ ซึมซับเนื้อเรื่องได้อย่างลื่นไหลกว่านี้ได้ไง

ส่วนพระเอก Vincent ผู้ที่อพยพมาจากมอส ก่อนหน้านี้เกิดอะไรขึ้นจำไม่ได้ รู้ตัวอีกทีก็โผล่มาในเมืองรอมโด มาเจอ Re-L เป็นผู้ชายที่เบ้าหน้ายังกะตัวประกอบสุดน่าสงสัยแถมมีตาตี่ ๆ จนคนดูมันต้องเอะใจแน่ ๆ ว่าหมอนี่จะมีลุคเปิดตามั้ย (เหมือนงินใน Bleach 555) การ์ตูนหลายเรื่องมันชอบมีคาแรคเตอร์แบบนี้เยอะ สงสัยจนไปลองค้นใน Google ยังไม่ทันไร โดนสปอยเลย 555555 กะแล้ว ตานี่มันไม่ใช่ตัวประกอบจืดชืด !

ergo proxy screenshot
เครื่องแบบของ Vincent ที่ใส่ตั้งแต่ต้นยันจบ ไม่เปลี่ยน 🤣🤣

และชุดที่ Vincent ใส่ มันใส่ยูนิฟอร์มชุดส้ม (เครื่องแบบของหน่วยกำจัดออโต้เรฟ) นี้ทั้ง 23 ตอนเลยรึไง ให้ตายสิ ! ถึงบางครั้งจะมีซีนที่ใส่เสื้อกล้าม แต่สุดท้ายไม่วายมันจะกลับมาใส่เสื้อชุดส้มอีก เดินทางไปหลายที่หาชุดใหม่ใส่ก็ได้มั้ยเอ็ง !! 555555

Ergo Proxy ดำเนินเรื่องโดยมี 3 ตัวละครหลักได้แก่ Re-L, Vincent นายเจี๋ยมเจี้ยมคนนี้และหุ่นยนต์ออโต้เรฟตัวน้อยชื่อ Pino (พีโน่) หุ่นยนต์ที่ติดเชื้อ Cogito Virus เข้าไป แม้มันจะเป็นไวรัสที่ทำให้หุ่นยนต์มีชีวิตจิตใจ ทำให้เกิดความคิดของตัวเอง นั่นไม่ได้แปลว่าจะทำให้เกิดความคุ้มคลั่งให้ฆ่าคนได้เสมอไป แรกเริ่มเดิมที Pino เดิมทีเป็นหุ่นยนต์ตัวแทนลูกสาวของหัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยประชาชน Raul Creed (ราอูล ครีด)

ทั้งเรื่องค่อย ๆ เล่ารายละเอียดของเซตติ้งเรื่องราว หลังจากนั้นจะมีการแยกมุมมองตัวละครเป็น 2 ทางคือฝั่ง Pino + Vincent ที่ดันกระเด็นออกไปใช้ชีวิตอยู่นอกเมืองโดม และ Re-L ที่ยังคงอยู่ในเมือง โดย ณ เวลาหนึ่ง จะมีเหตุการณ์ให้ทั้งสองฝั่งได้โคจรกลับมาเจอกันอีกครั้ง และเพื่อค้นหาคำตอบถึงตัวตนที่แท้จริงของ Vincent. Re-L กับ Vincent จึงต้องออกเดินทางกลับไปยังเมืองที่ Vincent จากมา นั่นคือเมือง Mosk ในระหว่างนั้น เนื้อเรื่องแต่ละตอนมีการสอดแทรกเหตุการณ์แฝงปรัชญา การใช้ชีวิตสไตล์อนิเมะไซไฟ สำหรับคนที่สงสัยว่า Ergo Proxy คืออะไร เกี่ยวอะไรด้วย ทำไมถึงเป็นชื่อเรื่องนี้ คนดูจะได้คำตอบก็ปาไปนู่นท้ายเรื่องแล้วกว่าทุกอย่างจะปะติดปะต่อกัน แต่ต้องใช้เวลาย่อยพอสมควร เพราะอย่างที่กล่าวไว้ด้านบนว่ายัดเนื้อหาช่วงเฉลยพอมาในเวลาอันสั้นพอตัว

ergo proxy screenshot
ตอนสุดติสที่เหมือนจะไม่ได้เชื่อมโยงกับเนื้อเรื่องหลักก็มีเหมือนกัน ซึ่งแท้แล้วจริงมันเกี่ยวข้องกัน

ในอนิเมะตัวนี้ เรารู้สึกว่ามันไม่ได้มีความปรัชญาจ๋า ดูยากในเชิงที่ต้องแกะ Message เนื้อชั้นใน มันค่อยๆ เล่าที่มาในแต่ละส่วน ค่อย ๆ ปอกเปลือกปมที่มัดไว้แต่ละตัว ตอนของในเรื่องนี้มีแทรกตอนสุดติสที่อาศัยจิตวิทยามาก ๆ ใส่การสลับตัดต่อลำดับภาพให้ชวนงง ใส่สถานการณ์ what if การเข้าไปเล่นในความฝันของตัวละคร ถ้าไม่ตั้งใจดูก็อาจจะงงไปดื้อ ๆ ได้เลย

ergo proxy screenshot
ตอนที่ใช้เทคนิค Exposition (Info Dump) ในการเล่าเรื่อง

บางตอนสุดโต่งมาก ๆ เช่นการใช้เทคนิค Exposition (Info Dump—การเปิดโปงเรื่องราวต่างๆ โดยโยนข้อมูลชุดใหญ่ทิ้งลงมาใส่คนดู) ในตอนที่ 15 ที่มันเปลี่ยนเรื่องราวจากการเดินทางของ Re-L, Vincent ให้เดินเรื่องผ่านการเล่นเกมส์โชว์เฉย อ้าวตอน 14 มันยังอยู่บนเรือบินอยู่เลย ทำไมมาตอนนี้ มันวาร์ปมาเล่นเกมส์โชว์ได้ล่ะเนี่ย ซึ่งคำถามในเกมส์โชว์มันไม่ใช่การสุ่มมาอย่างไม่มีที่มาที่ไป ทั้งหมดคือเบาะแส เป็นเกล็ดขนมปังที่ปูไปยังเซตติ้งตั้งต้นของเรื่อง ถ้าคนดูค่อย ๆ เก็บเบาะแสเหล่านี้นำมาปะติดปะต่อจะเข้าใจได้มากขึ้นว่ากว่าที่จะมาเป็นเมือง Romdeau ทำไมแต่ละเมืองถึงครอบโดม ทำไมโลกถึงปกคลุมไปด้วยเมฆหมอก ทุกอย่างมีแฝงไว้ในคำถามของเกมส์โชว์หมด จะว่าเป็นกลการเล่าที่แยบยลก็ว่าได้ แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบก็คงแขยงการเล่าเรื่องแบบนี้จริง ๆ 5555

หลังจากดูตอนที่ 15 มันทำให้ทุกอย่างที่คนดูรับรู้กันมาถึง 14 ตอนที่แล้วทราบว่า มันเป็นแค่หน้าเค้กที่ฉาบไว้ แต่ปมตอนที่ 15 ทำให้คนดูปรับความเข้าใจใหม่ว่า อะไรคือ Proxy อนาคตของโลกใบนี้ต่อจากนี้จะเกิดอะไรขึ้น

ergo proxy screenshot
Proxy คืออะไรกันแน่ ?


อธิบายตอนจบ อนิเมะ Ergo Proxy ตามการตีความของเราซึ่งอาจไม่ถูกต้องทั้งหมด

สำหรับคนที่งง ลองมาดูกันว่าเข้าใจใกล้เคียงกับเรามั้ย 55555 เอาจริงเราไม่ได้เข้าใจทั้งหมดในการดูรอบเดียวหรอก ต้องกลับไปกอฉากที่มันเฉลยเร็ว ๆ และอ่านกระทู้พูดคุยของที่อื่นประกอบด้วย

ergo proxy screenshot
Proxy กับปรากฏการณ์ Pulse of Awakening

ด้วยเหตุนี้ Vincent จึง

เรื่องราวจบด้วยประการฉะนี้

ergo proxy screenshot raul creed daedelus
Raul Creed และ Daedelus

Raison d’etre เหตุผลในการมีชีวิต อีกหนึ่งคอนเซปต์ที่เรื่องนี้ค่อนข้างเน้น

ในเรื่องนี้ได้มีการใช้แนวคิด Raison d’etre (เหตุผลในการมีชีวิตอยู่) เนื่องจากในสังคมปัจจุบัน มนุษย์ไม่สามารถสืบพันธุ์ตามวิธีธรรมชาติได้ ทำให้ในโดมต้องมีระบบทางชีวภาพเรียกว่า WombSys ระบบผสมเทียมเพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ๆ ขึ้นมาและเพื่อไม่ให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นรู้สึกว่างเปล่าในการใช้ชีวิต จึงได้มีการมอบหมายภารกิจหรือเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ให้ เช่น Daedelus ที่ทั้งชีวิตเค้าอุทิศชีวิตให้กับการวิจัย หลงหัวปักหัวปำกับการวิจัย Monad Proxy ด้วย หรือ Iggy — AutoReivs ของ Re-L ทั้งชีวิตเค้าคอยเป็นผู้ติดตาม Re-L มาตลอด ต่อมาเมื่อ Re-L เริ่มผละเค้าห่างออกไป Iggy เริ่มสูญเสียตัวตนของเขาและเริ่มตั้งคำถามถึงการมีชีวิตอยู่ ในเรื่องนี้จะมีการสอดแทรกหลักการนี้มาเป็นระยะ ๆ เพราะหลาย ๆ ตัวละครต่างมีเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ เมื่อเหตุผลเหล่านั้นได้จากหายไป สิ่งยึดเหนี่ยวที่คอยหล่อเลี้ยงพวกเขามาเพื่อใช้ชีวิตในแต่ละวันจึงได้พังทลายลงเช่นกัน

ergo proxy screenshot
คนในหน่วยงานกำจัด AutoReivs งานภาพที่มีความไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งเรื่อง


งานภาพ

อ่า…พูดถึงหัวข้อนี้ อย่าไปซีเรียสเรื่องงานภาพหรือจับผิดงานเผามากเลย เพราะเผาจริงจัง ! เผาเยอะ ! 🤣 ซีนที่สวย ๆ ก็มี แต่งานทำลวกก็ออกมาเยอะ สรุปคือมีงานเผา ๆ ที่ กระโดดขึ้นมาจนไม่ต้องเพ่งมากก็เห็นแต่นั่นไม่ใช่จุดขายหลักของเรื่องนี้อยู่แล้วล่ะนะ

ergo proxy screenshot from the opening
Screenshot จาก Opening

งานเพลง

หาฟัง Original Soundtrack ไม่ได้เลยแฮะ ได้ฟังแต่เพลง Opening, Ending ซึ่งงานเพลงคุมกลิ่นอายตะวันตกจ๋า ๆ เหมือนกัน เพลง OP ได้วงญี่ปุ่น Monoral มาร้องเพลง Kiri ซึ่งเป็นเนื้อภาษาอังกฤษทั้งเพลง (กับเนื้อเพลงอันน้อยนิด) ส่วนเพลง Ending ได้เพลงวงร็อคจากเกาะอังกฤษอย่าง Radiohead มาประกอบเลย (น่าจะไปขอเพลงเค้ามาประกอบนะ ไม่ใช่มาร้องใหม่ให้กับอนิเมะ) จากความชอบเรา เราเฉย ๆ กับเพลง ED ล่ะ มันมีกลิ่นอายฟังแล้วลอย ๆ เสียงลากหอน ๆ เหมือนเพลง Analyze ของ Tom Yorke และพอเข้ากลาง ๆ เพลงแล้วมีการสลับอารมณ์เพลงด้วย เหมือนเป็นองค์ต่าง ๆ ของเพลง นึกว่าฟังงาน Kpop เลย ฮา แต่เราชอบใจเพลง Kiri มาก ๆ เลยล่ะ

เพลง Opening: Kiri ของ Monoral
เพลง Ending: Paranoid Android ของ Radiohead

คะแนน (7/10)

สรุป

อนิเมะ Ergo Proxy เป็นอีกหนึ่งงานไซไฟสายปรัชญาที่ประสบปัญหาคล้ายกับ The Big O นั่นคือการเดินเรื่องที่ไม่สม่ำเสมอ บทจะเฉลยก็ยัดเข้ามาดื้อ ๆ จนคนดูย่อยลำบาก แม้จะมีคอนเซปต์ปรัชญาแต่ก็ไม่ได้ปรัชญาจ๋าประเภทเดินเรื่องน่าเบื่อมีแต่ตัวละครแลกบทสนทนาเชิงลึกกันอย่างเดียว ตัวทีมงานเองกล้าเล่นกับโครงเรื่องสุดโต่งที่หากนำไปเล่าให้ใครฟัง คงจะแปลกหูแปลกตาไม่ใช่น้อยแลกมากับงานภาพที่ต่ำกว่าเกณฑ์ไปบ้าง สำหรับใครที่มองหางานสายไซไฟที่อาศัยการขบคิดเยอะ อยากลองเนื้อเรื่องแปลก ๆ ดูจบแล้วต้องมานั่งคิดทบทวนเพิ่ม นี่เป็นอีกเรื่องที่คุณควรได้ลิ้มลอง !

ดูเรื่องนี้ได้จากไหน ?

มีให้ดูบน Netflix คลิก


บทความรีวิวอนิเมะอื่นๆ

🔑 9 (2+7) เพลง อนิเมะที่ดนตรีแปลกในวงการ Anisong แถมติดหูอีกต่างหาก

🔑 Deca-Dence รีวิว อนิเม เหมือนดูยำรวมมิตรแต่เซอร์ไพรส์เทคนิคเล่าเรื่องแฮะ

🔑 [รีวิว] อนิเม The Big O ที่เค้าว่าดูยาก นี่มัน Batman เวอร์ชั่น Super Robot ชัดๆ+อธิบายตอนจบ

🔑 ติดตามรีวิวอนิเมะอื่น ๆ ได้ใน https://gleegmjournal.com/category/pop-culture/anime/

🔑 Find me in: Anilist | MyAnimeList

Loading

GleeGM

My journal on personal life and interests including Data Analytics 📈, Books 📚, Music 🎶, Basketball 🏀, Figure Skating ⛸, Anime, Film 📺, Tarot, Lenormand, Uranian Astrology🔮

You may also like...