วิธีการคำนวณโค้งสุริยยาตร์ (Solar Arc) ด้วยมือ — Uranian Astrology
ปกติเวลาเหล่าโหรคำนวณโค้งสุริยยาตร์ (ชื่ออื่นๆ: โค้งอายุ Solar Arc) ก็เปิดแอปในมือถือในคอมให้มันคำนวณอัตโนมัติเลยใช่มั้ยล่ะ แต่ที่มากว่าจะมาเป็นโค้งอายุนี้ แท้จริงแล้วมันคำนวณอย่างๆรกันนะ เผื่อวันไหนไฟแรงอยากคำนวณมือเองจะได้ทำได้ เรามาดูวิธีกันเลยดีกว่า
1. หา Date(วันที่) ไว้สองตัว
นั่นคือ วันเกิดของเจ้าชะตา (เรียกว่า R — Radix) และวันนี้ที่เราทำการคำนวณ (เรียกว่า T — Transit)
จะขอแทน Date ที่ต้องใช้ว่าสมการและแทนด้วยตัวเลขไทยเพื่อให้เข้าใจง่ายว่าเรากำลังอ้างอิง Date ตัวใดอยู่ เวลาพูดถึงในย่อหน้าถัด ๆ ไป
ตัวอย่าง
วันเกิด 5 Oct 1972 14:16 — (๑)
วันนี้ที่คำนวณ 1 Dec 2022 — (๒)
2. นำ (๒) – (๑) เพื่อหาอายุในวันนี้
นำ (๒) – (๑) เราจะได้อายุ ย่างปี, เดือน, วัน ของเจ้าชะตานั้นๆ ในวันนี้ ดังเช่นตัวอย่างเจ้าชะตานี้
เขาเกิด 5 Oct 1972, วันนี้ ณ วันที่ 1 Dec 2022 เค้าจึงมีอายุ 50 ปี 1 เดือน 25 วัน
จำ 50ปี / 1 เดือน / 25 วัน ไว้ดีๆ เพราะต้องใช้ต่อ
สำหรับคนที่ไม่แน่ใจว่า บวกลบอายุ ถูกมั้ย สามารถใช้เว็บนี้(คลิก) เพื่อให้มันคำนวณอายุให้ได้


3. นำหน่วย ปี x1, เดือน x2, วัน x4
เมื่อกี้บอกว่าให้จำอายุไว้ใช้มั้ย 50ปี, 1 เดือน, 25 วัน ให้เรานำหน่วย ปี x1 เอา เดือน x2 เอา วัน x4 เพื่อแปลงหน่วยทั้งสามตัวนี้เป็นหน่วย วัน, ชั่วโมง, นาที ไว้สำหรับบวกองศารอบวงกลม (ถามว่าทำไมต้อง x1, x2, x4 โปรดดูลิงค์ภาคผนวกนี้ คลิก เพื่อดูว่าเพราะอะไร แต่ใครยังไม่สนใจเรื่องนี้ก็มองข้ามไปได้เลย)
หลังจาก x1, x2, x4 เราจะได้เป็น 50 วัน 20 ชั่วโมง 100 นาที ตามภาพด้านล่าง


เนื่องจาก100 นาที มันเกิน 60 นาที เราจึงต้องทดชั่วโมง จาก 2ชม. 100 นาที เป็น 3 ชม. 40 นาทีแทน


เราจะได้คำตอบ 50 วัน 3 ชม. 40 นาที ให้สิ่งนี้เป็นสมการที่ –(๓)
4. นำ วันเกิด(สมการ ๑) + วัน,ชั่วโมง,นาที (สมการ ๓)
= 24 Nov 1972 17:56 —(สมการที่ ๔)


ในกรณีไม่แน่ใจการบวกเลขเอง แนะนำใช้โปรแกรมคำนวณได้จากเว็บนี้ คลิก ผลลัพธ์จะเป็นดังรูปด้านล่าง


5. นำ (๔) ไปหาองศาของ SU
เมื่อเราได้ 24 Nov 1972 17:56 (สมการที่ ๔) ให้เราเข้าไปที่แอป Uranian Astro แล้วเปลี่ยนวัน,เวลาจร (Transit) เป็นวันในสมการที่ ๔ จากนั้นกดไปที่อาทิตย์จร (SUt) ที่อยู่วงด้านนอกสุดเพื่อดูว่าอาทิตย์ของวันในสมการที่ (๔) อยู่ที่องศาใด ซึ่งแอประบุองศาไว้ที่มุมล่างซ้ายคือ 242:16 (สุดท้ายก็ยังต้องใช้แอปช่วยอยู่ดีนี่นา แฮ่) จากนั้นดูอาทิตย์กำเนิด วงสีน้ำเงินด้านในสุด (SUr) ซึ่งคือ 192:08


6. นำองศาจร – องศากำเนิด
เมื่อนำมาลบกัน เราจะได้ 50:08 นี่แหละคือค่า Solar Arc ที่เราตามหากัน
หมายเหตุ หน่วยทางขวาสุด :16 และ :08 เป็นหน่วยจำนวนเต็ม 60 ลิปดา กล่าวคือถ้าสมมุติเราได้คำตอบเป็น 50:78 เราต้องทดเศษไปหน่วยทางซ้ายเพิ่ม ให้กลายเป็น 51:18 (นำ 78-60 ได้ 18 แล้ว +1 เข้าไปที่ 50 องศา กลายเป็น 51 องศา)


เปรียบเทียบกับเฉลยที่แอปพลิเคชั่นคำนวณไว้ ให้เราเปลี่ยนวันจร(Transit) กลับมาเป็น Date ที่เราทำการคำนวณ (สมการที่ ๒) เราจะเห็นค่า Solar Arc 50:07:40 ในมุมล่างซ้ายที่ระบบคำนวณซึ่งมีความใกล้เคียงกับ 50:08 ที่เราคำนวณ สาเหตุที่มีความคลาดเคลื่อนจากคำตอบ(เพียงเล็กน้อย)นั้นเพราะเราทำการคำนวณแบบหยาบๆ ระดับมือ อีกทั้งมีปัจจัยกลศาสตร์ของท้องฟ้าทำให้เรื่องขององศามีการลดหลั่นในแต่ละวันไม่เท่ากันจึงทำให้การบวกลบตรง ๆ เช่นนี้ไม่ตรงตามคอมพิวเตอร์ 100% แต่ก็ใกล้เคียงระดับที่ดูในแอปแล้วมันก็คือ ๆ กัน ถือว่าหยวน ๆ กันไป


จบการคำนวณ Solar Arc ด้วยมือแต่เพียงเท่านี้
ภาคผนวก
🔎 ตารางคำนวณเศษเพื่อใช้สำหรับบวกรอบวงกลมของจานคำนวณ (สังเกตที่ทำตัวหนาพอ)
เนื่องจากจานคำนวณ โลจิก 1 ปีคือ 1 องศา จึงได้สูตรแปลงหน่วยดังนี้
1 ปี | = 1 วัน |
12 เดือน (แปลงปีข้างบนเป็นเดือนเฉยๆ) | = 24 ชั่วโมง |
1 เดือน | = 2 ชั่วโมง |
30 วัน (แปลงเดือนข้างบนเป็นวันเฉยๆ) | = 2 ชั่วโมง |
30 วัน | = 120 นาที |
1 วัน | = 4 นาที |
บทความอื่นๆ
🔑 ติดตามบทความอื่น ๆ ใน GleeGourmet’s Journal
🔮 บล็อกหัวข้อโหราศาสตร์, ไพ่ คลิก | 🏀 กีฬา คลิก | 📖 รีวิวBook หนังสือ |
65 total views